วันเสาร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2554

รหัสเทียม หรือซูโดโค้ด (Pseudo Code) อัลกอริทึม (Algorithm) คือ กลุ่มของขั้นตอนหรือกฎเกณฑ์ที่จะนำพาไปสู่การแก้ปัญหา [3]p.37 คือ ขั้นตอนวิธีที่ประกอ้บด้วยชุดคำสั่งเป็นขั้นเป็นตอนที่ชัดเจน และรับประกันว่าเมื่อได้ปฏิบัติถูกต้องตามขั้นตอนจนครบก็จะได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้องตามต้องการ[3]p.37 คือ รูปแบบของการกำหนดการทำงานอย่างเป็นขั้นตอน ซึ่งผ่านการวิเคราะห์และแยกแยะ เพื่อการแก้ปัญหาต่าง ๆ ตามลำดับขั้น อาจเลือกใช้ภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษตามความถนัด เพื่อนำเสนอขั้นตอนของกิจกรรมก็ได้ [4]p.17 รหัสเทียม หรือซูโดโค้ด (Pseudo Code) คือ รหัสจำลองที่ใช้เป็นตัวแทนของอัลกอริทึม โดยมีถ้อยคำหรือประโยคคำสั่งที่เขียนอยู่ในรูปแบบของภาษาอังกฤษที่ไม่ขึ้นกับภาษาคอมพิวเตอร์ใดภาษาหนึ่ง [3]p.37 คือ การแสดงขั้นตอนวิธีการที่ใช้ภาษาเขียนที่เข้าใจได้ง่าย อาจใช้ภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษก็ได้ขึ้นอยู่กับความสะดวกของผู้เขียนและกิจกรรมที่จะนำเสนอ มักใช้รูปแบบคล้ายประโยคภาษาอังกฤษเพื่ออธิบายรายละเอียดของอัลกอริทึม ผังงาน (Flowchart) คือ การแสดงขั้นตอนวิธีการที่ใช้สัญลักษณ์ที่เข้าใจได้ง่าย แต่ให้รายละเอียดได้น้อยกว่า ความแตกต่างของ Algorithm และ Pseudo Code คือ การแสดงความคิดที่ได้จากการจินตนาการถึงขั้นตอน ซึ่งขั้นตอนที่อยู่ในความคิดก็คือ Algorithm ที่ผ่านการแยก และจัดลำดับแล้ว เมื่อนำเสนอก็อาจใช้ภาษาง่าย ๆ แต่หากนำเสนอด้วยการเขียนเป็นภาษาที่สื่อให้ทุกคนเข้าใจตรงกันได้ง่ายก็คือ Pseudo Code นั้นเอง สำหรับหนังสือหลายเล่มแสดง Algorithm ด้วย Pseudo Code ก็ยังเรียกว่า Algorithm ได้เช่นกัน หลักการเขียนซูโดโค้ด [3]p.27 ถ้อยคำที่ใช้เขียน ใช้ภาษาอังกฤษที่เข้าใจง่าย ในหนึ่งบรรทัด ให้มีเพียงหนึ่งประโยคคำสั่ง ใช้ย่อหน้าให้เป็นประโยชน์ ในการแสดงการควบคุมอย่างเป็นสัดส่วน แต่ละประโยคคำสั่งให้เขียนจากบนลงล่าง และมีทางออกทางเดียว กลุ่มของประโยคคำสั่งอาจรวมเป็นหมวดหมู่แล้วเรียกใช้เป็นโมดูล โปรแกรมส่วนใหญ่ประกอบด้วยกิจกรรม 3 ส่วน 1. input 2. process 3. output เช่น โปรแกรมหาผลรวม หาค่าเฉลี่ย หาค่าสูงสุด ต่ำสุด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น