วันศุกร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2554


ความรักของคุณเป็นอย่างไร

อายุ
ระดับการศึกษา
อาชีพ
เพศ
สถานะภาพสมรส  

1. ความรักคือ
  การให้โดยไม่หวังสิ่งใดตอบแทน
  การเสียสละและการจริงใจต่อกัน
  ความเข้าใจและความสงสารที่มีต่อกัน
2. คุณรักสิ่งใดมากที่สุด
  ยศถาบรรดาศักดิ์
  ชื่อเสียงวงศ์ตระกูล
  ความซื่อสัตย์สุจริต
3. คำว่า "เพื่อน" ในทัศนะของคุณหมายถึง
  ผู้ให้คำแนะนำและตักเตือน
  ผู้ให้ความรักและความอบอุ่น
  ผู้ให้ความจริงใจต่อตัวเรา
4. คุณรู้จักที่จะมีความรักหรือยัง
  ยังไม่พร้อมที่จะรักเพราะกลัวอกหัก
  กำลังคิดจะมีความรักเพราะเป็นสิ่งที่บริสุทธิ์
  รู้จักและมีความพร้อมที่จะรักและให้
5. ถ้าคุณจะบอกรักกับใครสักคนหนึ่ง คุณจะ
  สบตาและส่งยิ้ม พร้อมรีบบอกรักรับ
  กลัวเขาจะไม่ยอมรับรักที่มอบให้ เพราะมันเร็วเกินไป
  มีความรู้สึกอาย ก็เลยไม่กล้าเอ่ยปากบอกรัก
6. เมื่อเขาหรือหล่อน ออกปากบอกฝากรักคุณเป็นครั้งแรก คุณจะ
  ทำท่าตกใจ แล้วรีบบอกว่า เรากลับบ้านกันเถอะ
  ทำเป็นนิ่งเฉย ไม่สนใจและทำเป็นไม่ได้ยิน
  บอกว่าขอคิดดูก่อน และอยากดูกันไปนานๆ
7. เมื่อคุณกับคนรักได้ไปเที่ยวด้วยกันมาอย่างสนุกแล้ว จากนั้น คุณจะ
  คิดในใจว่าดีมาก ที่ได้กินฟรีอีกมื้อหนึ่ง
  ไม่อยากคิดถึงมันอีกเลย ขอให้ลืมมันเสียเถิด
  นึกถึงบรรยากาศแห่งความน่ารักและหวานชื่นอันนั้น
8. คุณรักคนที่รักคุณมากน้อยแค่ไหน
  รักเท่าฟ้า
  รักสุดหัวใจ
  รักเท่ากับเขารักเรา
9. เมื่อความรักของคุณไม่สมปรารถนาหรือผิดหวัง คุณจะ
  เสียใจอย่างมากและอยากจะตายเพราะอกหัก
  รำพันกับตัวเองว่าไม่เป็นไร คงจะหาคนใหม่มาแทนได้
  ซึมเศร้าไปอีกนานและคงยากที่จะหามาทดแทนได้
10. คุณเลือกที่จะแต่งงานกับคนที่
  มีฐานะดี มีเงินทองและร่ำรวย
  รูปหล่อหรือหน้าสวย พูดเก่งและทันสมัย
  เป็นใครไม่สำคัญ ขอให้เข้ากันได้ทุกเรื่องและมีทัศนะตรงกัน

วันจันทร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2554

รู้สึกดีๆ ไม่มีอะไรอื่น รู้สึกเหมือนเป็นคืน
ที่ฉันมีความสุขลืมทุกสิ่งลืมทุกอย่างรอบๆตัว
ทางโน้นก็สวยดี คนนี้ก็น่าดู ในใจก็รู้อยู่
ฉันก็แค่มองก็แค่ชมไม่คิดไกลไม่ต้องกลัว

นี่เลยไม่ใช่เพลงรัก นี่ไม่ใช่เพลงซึ้ง
ไม่มีคำว่าคิดถึง
ไม่เลยไม่เลย มันไม่มี มันไม่มี

ก็รู้สึกดีๆ มองเธอเดินมา
ก็รู้สึกดีๆมองเธอเดินไป
ก็รู้สึกดีๆที่มีคนสวยเดินผ่านฉันมา
คนสวยผ่านฉันไปให้ฉันมอง

ก็ไม่เป็นไรหรอก ที่เธอไม่ยิ้มตอบ
ก็พอจะรู้อยู่
เธอเองก็มีคนที่รู้ใจและฉันเองก็เช่นกัน

นี่เลยไม่ใช่เพลงรัก นี่ไม่ใช่เพลงซึ้ง
ไม่มีคำว่าคิดถึง
ไม่เลยไม่เลย มันไม่มี มันไม่มี

ก็รู้สึกดีๆ มองเธอเดินมา
ก็รู้สึกดีๆมองเธอเดินไป
ก็รู้สึกดีๆที่มีคนสวยเดินผ่านฉันมา
คนสวยผ่านฉันไปให้ฉันมอง

โลกศึกษา

ความมุ่งหมาย ของโลกศึกษา คือการพัฒนาค่านิยมที่อยู่บนพื้นฐานความรู้ในเรื่องราวต่างๆของโลก และทักษะที่เกี่ยวข้อง

ทั้งนี้เพื่อ สร้างเสริมเจตคติในการเป็นพลเมืองโลกที่รับผิดชอบทั้งในระดับบุคคลและหมู่เหล่า ค่านิยมดังกล่าว ได้แก่.....

1.ความนับถือ และเชื่อมั่นในตัวเอง

2.ความเคารพในตน และความเคารพต่อผู้อื่น

3.ความรับผิดชอบต่อสังคม

4.ความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม

5.การเปิดใจกว้าง

6.เจตคติในการพัฒนา วิสัยทัศน์

7.เป็นสมาชิกชุมชนที่แข็งขัน และมีส่วนร่วมรับผิดชอบ

*****

โรงเรียนมาตรฐานสากล ควรจัดการเรียนรู้ โลกศึกษา ให้นักเรียนทุกระดับชั้น.....หรือไม่......

ควรจัดให้นักเรียนทุกคน ได้เรียนอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ระดับปฐมวัย ถึงชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย

*****

โรงเรียนมีวิธีการใดบ้าง ในการจัดการเรียนรู้ โลกศึกษา ให้สอดคล้องกับโครงสร้างหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551

โรงเรียนสามารถจัดการเรียนรู้โลกศึกษา ได้อย่างน้อย 2 ลักษณะ คือ

1.จัดเป็นรายวิชาเพิ่มเติม ให้นักเรียน ได้เรียนในทุกชั้นปี ทุกระดับชั้น

2.จัดเป็นหน่วยการเรียนรู้ในวิชาพื้นฐาน ตามกลุ่มสาระต่างๆ โดยพิจารณาถึง ความสอดคล้องของมาตรฐาน และตัวชี้วัดแต่ละกลุ่มสาระ การปรับเนื้อหา เพื่อลดความซ้ำซ้อน และบ่งบอกได้ชัดเจนถึงจำนวนหน่วยการเรียนรู้ เวลาที่ใช้ และผลการเรียนรู้ที่คาดหวังในแต่ละหน่วย

วันเสาร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2554

รหัสเทียม หรือซูโดโค้ด (Pseudo Code) อัลกอริทึม (Algorithm) คือ กลุ่มของขั้นตอนหรือกฎเกณฑ์ที่จะนำพาไปสู่การแก้ปัญหา [3]p.37 คือ ขั้นตอนวิธีที่ประกอ้บด้วยชุดคำสั่งเป็นขั้นเป็นตอนที่ชัดเจน และรับประกันว่าเมื่อได้ปฏิบัติถูกต้องตามขั้นตอนจนครบก็จะได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้องตามต้องการ[3]p.37 คือ รูปแบบของการกำหนดการทำงานอย่างเป็นขั้นตอน ซึ่งผ่านการวิเคราะห์และแยกแยะ เพื่อการแก้ปัญหาต่าง ๆ ตามลำดับขั้น อาจเลือกใช้ภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษตามความถนัด เพื่อนำเสนอขั้นตอนของกิจกรรมก็ได้ [4]p.17 รหัสเทียม หรือซูโดโค้ด (Pseudo Code) คือ รหัสจำลองที่ใช้เป็นตัวแทนของอัลกอริทึม โดยมีถ้อยคำหรือประโยคคำสั่งที่เขียนอยู่ในรูปแบบของภาษาอังกฤษที่ไม่ขึ้นกับภาษาคอมพิวเตอร์ใดภาษาหนึ่ง [3]p.37 คือ การแสดงขั้นตอนวิธีการที่ใช้ภาษาเขียนที่เข้าใจได้ง่าย อาจใช้ภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษก็ได้ขึ้นอยู่กับความสะดวกของผู้เขียนและกิจกรรมที่จะนำเสนอ มักใช้รูปแบบคล้ายประโยคภาษาอังกฤษเพื่ออธิบายรายละเอียดของอัลกอริทึม ผังงาน (Flowchart) คือ การแสดงขั้นตอนวิธีการที่ใช้สัญลักษณ์ที่เข้าใจได้ง่าย แต่ให้รายละเอียดได้น้อยกว่า ความแตกต่างของ Algorithm และ Pseudo Code คือ การแสดงความคิดที่ได้จากการจินตนาการถึงขั้นตอน ซึ่งขั้นตอนที่อยู่ในความคิดก็คือ Algorithm ที่ผ่านการแยก และจัดลำดับแล้ว เมื่อนำเสนอก็อาจใช้ภาษาง่าย ๆ แต่หากนำเสนอด้วยการเขียนเป็นภาษาที่สื่อให้ทุกคนเข้าใจตรงกันได้ง่ายก็คือ Pseudo Code นั้นเอง สำหรับหนังสือหลายเล่มแสดง Algorithm ด้วย Pseudo Code ก็ยังเรียกว่า Algorithm ได้เช่นกัน หลักการเขียนซูโดโค้ด [3]p.27 ถ้อยคำที่ใช้เขียน ใช้ภาษาอังกฤษที่เข้าใจง่าย ในหนึ่งบรรทัด ให้มีเพียงหนึ่งประโยคคำสั่ง ใช้ย่อหน้าให้เป็นประโยชน์ ในการแสดงการควบคุมอย่างเป็นสัดส่วน แต่ละประโยคคำสั่งให้เขียนจากบนลงล่าง และมีทางออกทางเดียว กลุ่มของประโยคคำสั่งอาจรวมเป็นหมวดหมู่แล้วเรียกใช้เป็นโมดูล โปรแกรมส่วนใหญ่ประกอบด้วยกิจกรรม 3 ส่วน 1. input 2. process 3. output เช่น โปรแกรมหาผลรวม หาค่าเฉลี่ย หาค่าสูงสุด ต่ำสุด

วันอังคารที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2554

แบบทดสอบจิตรวิทยาเรื่องหนูน้อย
24 พฤศจิกายน 2553 - 14:16:00

ลองดูนะคะ เป็นแบบทดสอบความรักที่น่ารักดี แล้วก็ตรงอย่างไม่น่าเชื่อ เริ่มเลย ตอบคำถาม จดไว้ให้ครบแล้วดูคำวิเคราะห์นะคะ
1 . คุณคิดว่าอะไรที่ทำให้นู๋น้อยชอบสวมหมวกสีแดงมากที่สุด (ตอบตามความคิดของคุณเองนะ)
A.เพราะนู๋น้อยเกิดวันอาทิตย์ ซึ่งวันอาทิตย์คือสีแดง
B.เพราะเป็นหมวกที่คุณยายเธอซื้อให้
C.เพราะสีแดงเป็นสีที่นู๋น้อยชอบมาก

...
2. นู๋น้อยหมวกแดงต้องการใส่คอนแทคเลนส์ คุณคิดว่านู๋น้อยหมวกแดงจะใส่คอนแทคฯ สีไร A.สีแดง
B.สีฟ้า
C.สีน้ำตาล

...
3.คืนก่อนที่นู๋น้อยหมวกแดงจะไปเยี่ยมคุณยาย คุณคิดว่านู๋น้อยหมวกแดงจะฝันเห็นลางร้ายอะไรที่บอกเหตุว่าจะเจอหมาป่า
A. ฝันว่าตัวเองตกจากที่สูง
B. ฝันเห็นผีวิ่งไล่ตาม
C. ฝันว่าตัวเองกำลังเจ็บป่วยไม่สบาย

...
4. ตื่นเช้าขึ้นมาเครื่องดื่มที่นู๋น้อยหมวกแดงโปรดปรานที่สุด คือ
A. น้ำเปล่าบริสุทธิ์
B. น้ำหวาน
C. น้ำผลไม้

...
5.นู๋น้อยหมวกแดงแวะพักชมดอกไม้ ถ้าดอกไม้พูดได้มันจะพูดอะไร ให้คุณคิดข้อความที่ดอกไม้จะพูด!!!
...
6. ก่อนกลับจากการเยี่ยมคุณยาย คุณยายจะให้ของขวัญอะไร
A. เสื้อกันหนาวเอาไว้ใส่ฤดูหนาว
B. หมวกสีแดงอีก 1 ใบ
C. ขนมหรืออาหารอร่อยๆ ที่คุณยายเตรียมไว้

...
7. ได้เวลาที่นิทานจบ คุณคิดว่านู๋น้อยจะกล่าวลาคุณยายอย่างไร
...
วิเคราะห์
v
v
v

1 . คุณคิดว่าอะไรที่ทำให้นู๋น้อยชอบสวมหมวกสีแดงมากที่สุด
A. เพราะนู๋น้อยเกิดวันอาทิตย์ ซึ่งวันอาทิตย์คือสีแดง > คุณชอบเพศตรงข้ามที่มีนิสัยใจคอคล้ายๆกับคุณ มากกว่าคนที่ชอบอะไรแตกต่างกัน B. เพราะเป็นหมวกที่คุณยายเธอซื้อให้ > คุณชอบเพศตรงข้ามที่อยู่ใกล้ๆ แล้วให้ความรู้สึกที่อบอุ่นมีความสุขและปลอดภัย C. เพราะสีแดงเป็นสีที่นู๋น้อยชอบมาก > คุณจะชอบหรือรักใครก็ด้วยเพราะตัวเองไม่จำเป็นต้องมีแม่สื่อหรือเพื่อนๆ คอยเชียร์

...
2. นู๋น้อยหมวกแดงต้องการใส่คอนแทคเลนส์ คุณคิดว่านู๋น้อยหมวกแดงจะใส่คอนแทคฯ สีไร
A. สีแดง > ให้ระวังตัวคุณจะมีความรักตามแฟชั่นคือเห็นเพื่อนมีกันก็อยากมีบ้างทั้งๆ ที่ตัวเองยังไม่ต้องการเท่าไหร่
B. สีฟ้า > คุณรู้สึกสบายๆ กับความรัก จะมีหรือไม่ก็ได้ขอให้สบายใจและไม่กังวลกับมันก็พอ C. สีน้ำตาล > ให้ระวังความแก่แดดของคุณในเรื่องความรักของเธอ ทั้งที่คุณยังไม่เข้าใจความรักหรือเขาดีพอ

...
3. คืนก่อนที่นู๋น้อยหมวกแดงจะไปเยี่ยมคุณยาย คุณคิดว่านู๋น้อยหมวกแดงจะฝันเห็นลางร้ายอะไรที่บอกเหตุว่าจะเจอหมาป่า
A. ฝันว่าตัวเองตกจากที่สูง > ถ้าคุณมีแฟน สิ่งที่คุณกลัวที่สุดคือ กลัวว่าเขาจะนอกใจคุณไปชอบคนอื่น
B. ฝันเห็นผีวิ่งไล่ตาม > ถ้าคุณมีแฟน สิ่งที่คุณกลัวที่สุดคือ กลัวว่าเขาจะไม่จริงใจหรือรักคุณมาก่อนเลย
C. ฝันว่าตัวเองกำลังเจ็บป่วยไม่สบาย
> ถ้าคุณมีแฟน สิ่งที่คุณกลัวที่สุดคือ กลัวว่าคุณจะไม่ดีพอ จนทำให้เขาไปมีแฟนใหม่ซึ่งมีอะไรดีกว่าคุณ
...
4. ตื่นเช้าขึ้นมาเครื่องดื่มที่นู๋น้อยหมวกแดงโปรดปรานที่สุด คือ
A. น้ำเปล่าบริสุทธิ์ > ความรักของคุณจะออกไปทางเรียบง่าย ไม่หวือหวา B. น้ำหวาน > ความรักของคุณค่อนข้างมีสีสัน กุ๊กกิ๊กน่ารักและทำให้คุณชื่นใจ
C. น้ำผลไม้ > ความรักของคุณจะโรแมนติก คุณจะพยายามทำทุกอย่างให้ความรักสมบูรณ์

...
5. นู๋น้อยหมวกแดงแวะพักชมดอกไม้ ถ้าดอกไม้พูดได้มันจะพูดอะไร ให้คุณคิดข้อความที่ดอกไม้จะพูด!!!
!!!ข้อความที่ดอกไม้พูด คือ คำพูดที่คุณอยากให้คนรักพูดทักทายคุณ!!!

...
6. ก่อนกลับจากการเยี่ยมคุณยาย คุณยายจะให้ของขวัญอะไร
A. เสื้อกันหนาวเอาไว้ใส่ฤดูหนาว > เวลาคุณไม่สบาย คุณอยากให้คนรักแตะตัว เพื่อดูอาการไข้ด้วยความห่วงใย
B. หมวกสีแดงอีก 1 ใบ > เวลาที่เธอเห็นคนรักมีความสุขในสิ่งที่คุณให้หรือทำคุณจะให้สิ่งนั้น หรือทำอย่างนั้นกับคนรักบ่อยๆ
C. ขนมหรืออาหารอร่อยๆ ที่คุณยายเตรียมไว้ > คุณต้องการคำชมจากคนรัก เมื่อคุณทำสิ่งพิเศษเพื่อเขา

...
7. ได้เวลาที่นิทานจบ คุณคิดว่านู๋น้อยจะกล่าวลาคุณยายอย่างไร
!!!คำลาที่คุณคิด ใช้พูดลากับคนรักตอนแยกกันกลับบ้าน (ไม่ใช่เลิกกันนะ แค่แยกกันกลับบ้านจ้า)!!!

...
ตรงใช่มั้ยล่ะคะ แบบทดสอบจิตวิทยาความรัก และเรื่องราวดีๆเกี่ยวกับจิตวิทยา และเรื่องราวของความรักแบบนี้ยังมีอีกมากมายเลยนะคะ สามารถคลิกได้จากลิงค์ข้างล่างจ้า
เศรษฐศาสตร์

เนื่องจากวิชาเศรษฐศาสตร์เป็นวิชาทางด้านสังคมศาสตร์จึงไม่สามารถให้ความหมายที่แน่นอนตายตัวได้ นักเศรษฐศาสตร์จึงได้ให้ความหมายที่แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับว่าจะมองในแง่ใด ความหมายของวิชาเศรษฐศาสตร์ในสมัยต่อๆมาจึงมีความหมายที่กว้างกว่าการจัดการครอบครัว


วิชาที่ว่าด้วยการจัดสรรทรัพยากรเพื่อนำมาสนองความต้องการของมนุษย์ โดยให้เกิดประโยชน์และประสิทธิภาพสูงสุดเพื่อความอยู่ดีกินดีของมนุษย์ ส่วนการผลิตทางด้านเศรษฐศาสตร์ หมายถึงการที่ เจ้าของทรัพยากร เจ้าของทุน เจ้าของแรงงาน และผู้ประกอบการ สามารถใช้ความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ เพื่อให้ปัจจัยการผลิตที่ตนมีอยู่นั้น ให้ผลตอบแทนแก่ตนเองมากที่สุด ช่วยผู้ประกอบการตัดสินใจใช้ปัจจัยการผลิตที่มีต้นทุนต่ำที่สุดเพื่อให้ได้กำไรมากที่สุด และการประยุกต์หลักธรรมตามพุทธเศรษฐศาสตร์มาใช้อธิบายได้ดังนี้ คือ ให้ใช้หลักของปัญญา ในการผลิต โดยให้คำนึงถึงประโยชน์ของผู้คนส่วนมากเป็นสิ่งสำคัญ



[แก้ไข] การพิจารณาเลือกปัจจัยการผลิตทางเศรษฐศาสตร์


1. ที่ดิน พิจารณาถึงทรัพยากรธรรมชาติ เช่นป่าไม้ สัตว์ป่า น้ำฝน แร่ธาตุ ถึงความอุดมสมบูรณ์ ทิวทัศน์ 2. แรงงาน พิจารณาถึง วัย รวมถึงคุณภาพความรู้ ความสามารถ สุขภาพ ศีลธรรมและจริยธรรม 3. ทุน พิจารณาถึง สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นได้แก่ เครื่องมือ เครื่องจักร โรงงาน เป็นต้น 4. ผู้ประกอบการ พิจารณาถึงผู้ที่นำเอาปัจจัยทั้ง 3 มาทำการผลิต เมื่อเลือกแล้วควรนำมาพิจารณา


โดยปกติหากมนุษย์ดำเนินชีวิตเพียงเพื่อปัจจัย 4 ทรัพยากรต่าง ๆ ย่อมสามารถสนองความต้องการของมนุษย์ได้ครบ แต่ในสภาพความเป็นจริงมนุษย์มีความต้องการไม่สิ้นสุดและทรัพยากรก็มีจำนวนจำกัด ดังนั้นจึงก่อให้เกิดปัญหาความขาดแคลนขึ้น เศรษฐศาสตร์จึงเป็นศาสตร์ที่เข้าไปคลี่คลายปัญหาความขาดแคลนดังกล่าว โดยหาทางออกให้กับมนุษย์ได้เลือกใช้ทรัพยากรให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด


โดยธรรมชาติมนุษย์มีความต้องการตลอดเวลา และไม่มีที่สิ้นสุด แต่จำนวนสินค้าและบริการมีจำกัด ทำให้เกิดความไม่สมดุลระหว่างสินค้า บริการและความต้องการ จึงเกิดการเลือกที่จะต้องตอบสนองความต้องการ ในการเลือกทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งทำให้หมดโอกาสที่จะทำสิ่งอื่นไปโดยปริยาย เราเรียกว่าสูญเสียโอกาส จึงกล่าวว่าเมื่อตัดสินใจเลือกจะเกิดต้นทุนเกิดขึ้นพร้อมกันเราเรียกว่าต้นทุนค่าเสียโอกาส ดังนั้นการที่จะเลือกเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดมีต้นทุนต่ำสุด


สรุปได้ว่า 1. ความต้องการมีไม่จำกัด (unlimited wants) 2. ทรัพยากรมีจำกัด (scarcity resources)..ทำให้เกิดความขาดแคลน 3. จึงเกิดการเลือก (choice) 4. เมื่อเกิดการเลือกสิ่งที่ตามมาคืออะไร.......................


สินค้าและบริการ (goods and services) เป็นสิ่งที่มีอรรถประโยชน์(utility)คือสามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค ทำให้ผู้บริโภคได้รับความพอใจโดยไม่คำนึงว่าผิดกฏหมายหรือผิดศีลธรรม


สินค้าไร้ราคาหรือทรัพย์เสรี (free goods) มีตามธรรมชาติ เกินความต้องการของมนุษย์ ใช้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย เช่น น้ำ อากาศ แสงแดด


สินค้าทางเศรษฐศาสตร์หรือเศรษฐทรัพย์ (economic goods) สินค้าที่มีต้นทุนการผลิต มีจำกัดเมื่อเทียบกับความต้องการ ต้องซื้อหรือจ่ายค่าตอบแทน


การศึกษาและเข้าใจพฤติกรรมของหน่วยเศรษฐกิจต่างๆต้องเข้าใจพฤติกรรมของหน่วยเศรษฐกิจแต่ละหน่วย ในลักษณะที่เป็นส่วนย่อยและส่วนรวมของระบบเศรษฐกิจเพื่อเข้าใจการทำงานและปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบเศรษฐกิจทั้งระบบได้ดียิ่งขึ้น



[แก้ไข] เศรษฐศาสตร์ แบ่งเป็น 2 สาขา


เศรษฐศาสตร์จุลภาค microeconomics เป็นการศึกษาพฤติกรรมทางเศรษฐกิจในส่วนย่อย ครัวเรือนหรือธุรกิจเพียงหน่วยใด หน่วยหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการผลิต การบริโภค การกำหนดราคา การจำหน่ายจ่ายแจก เน้นไปทางการจัดสรรทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด เป็นการศึกษากิจกรรมทางเศรษฐกิจของบุคคล หรือกลุ่มของบุคคลเนื้อหาส่วนใหญ่ของเศรษฐศาสตร์จุลภาคเป็นเรื่องเกี่ยวกับราคาในตลาดแบบต่างๆ จึงเรียกอีกอย่างว่า ทฤษฏีราคา(price theory)


เศรษฐศาสตร์มหภาค macroeconomics เป็นการศึกษาของเศรษฐกิจส่วนร่วม เป็นการศึกษาพฤติกรรมทางเศรษฐกิจทุกหน่วยในสังคมเช่นรายได้ประชาชาติ ระดับราคาสินค้า การกระจายรายได้ การคลังรัฐบาล การค้าระหว่างประเทศ การรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ เป็นการศึกษากิจกรรมทางเศรษฐกิจระดับประเทศ ระหว่างประเทศ



[แก้ไข] นักเศรษฐศาสตร์ที่สำคัญ


• อัลเฟรด มาร์แชล ผู้ริเริ่มทฤษฏีทางเศรษฐศาสตร์จุลภาคเป็คนแรก เขียนผลงานพฤติกรรมผู้บริโภค ผู้ผลิต (เสนอทฤษฎีว่าด้วยการผลิต) • จอห์น เมนาร์ด เคนส์ ผู้ริเริ่มทฤษฏี ทางเศรษฐศาสตร์มหภาคเป็นคนแรก ได้รับยกย่องว่าเป็น “บิดาของวิชาเศรษฐศาสตร์มหภาค” โดยเสนอ นโยบายวิธีแก้ปัญหาการว่างงาน การเงิน การคลัง การออม การลงทุน • อดัม สมิธ ชาวอังกฤษได้รับสมญา “บิดาแห่งวิชาเศรษฐศาสตร์” เขียนหนังสือ “An inquiry in to the Nature and causes of the Wealth of Nations” หรือ ความมั่งคั่งของประชาชาติ The Wealth of Nations เป็นหนังสือเศรษฐศาสตร์เล่มแรกกล่าวถึงทำอย่างไรประเทศจึงจะร่ำรวย พูดถึงเรื่องกลไกสำคัญที่เชื่อมโยงระหว่างสังคมกับธุรกิจให้ผลประโยชน์ร่วมกัน เรื่องกลไกของตลาด การกำหนดมูลค่าของราคาสิ่งของ การบริหารการคลัง การกระจายรายได้ การค้าระหว่างประเทศ ประเทศ ไทยมีหนังสือเกี่ยวกับวิชาเศรษฐศาสตร์เล่มแรกคือ “ทรัพย์ศาสตร์เบื้องต้น” เ รียบเรียงโดย พระยาสุริยานุวัตร เมื่อ พ.ศ. 2454 ต่อมาเปลี่ยนชื่อ เป็น “เศรษฐศาสตร์วิทยาภาคเบื้องต้น เล่ม 1”



[แก้ไข] ประโยชน์ของเศรษฐศาสตร์


เราศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์เพราะอะไร?..เพื่อได้เข้าใจปรากฏการณ์ต่างๆทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นทั้งสาเหตุและผลกระทบต่อบุคคล สังคม เพื่อรู้แนวทางที่จำนำไปแก้ไขหรือประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันอย่างมีเหตุผล

1. ช่วยให้สามารถซื้อหรือใช้ บริโภคสินค้าที่มีอยู่จำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด รู้จักใช้ รู้จักออม

2. เจ้าของปัจจัยการผลิต ใช้ความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ ตัดสินใจใช้ปัจจัยการผลิตที่ต้นทุนต่ำแต่เกิดกำไรสูงสุด

3. เข้าใจสถานการณ์ปัญหาเศรษฐกิจและปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ได้

4. ใช้ความรู้ในการจัดสรรทรัพยากร กำหนดนโยบายการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ และรักษาผลประโยชน์ในการลงทุน การค้ากับต่างประเทศได้



[แก้ไข] การวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์


การวิเคราะห์เศรษฐศาสตร์แบบใดที่ถือว่าเป็นวิทยาศาสตร์ เพราะเหตุใด

1. เศรษฐศาสตร์ตามความเป็นจริง หรือ เศรษฐศาสตร์พรรณา (Positive หรือ descriptive economics) การศึกษาเศรษฐศาสตร์เป็นการศึกษาเพื่อให้เข้าใจพฤติกรรมของหน่วยเศรษฐกิจหรือระบบเศรษฐกิจในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ เพื่อให้รู้ว่าอะไรคือสาเหตุ ทำให้เราสามารถพยากรณ์เหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงในสถาณการณ์ทั่วๆไปได้ โดยไม่คำนึงถึงเป้าหมายทางสังคม ไม่นำเอาจริยธรรม ค่านิยม ความคิดทางสังคมมาพิจารณาร่วมด้วย เช่น กรณีที่โรงงานอุตสาหกรรมปล่อยน้ำเสียลงสู่แม่น้ำ การศึกษาเศรษฐศาสตร์ตามความเป็นจริงจะศึกษาเพียงว่า น้ำในแม่น้ำเน่าก่อให้เกิดต้นทุนทางเศรษฐกิจและสังคมเป็นจำนวนเท่าไร จะไม่ชี้แนะว่ารัฐบาลควรจะดำเนินการเช่นไร เศรษฐศาสตร์ที่เป็นจริงถือว่าเป็นวิทยาศาสตร์แขนงหนึ่ง เพราะการศึกษาสามารถให้ข้อสรุปที่เป็นกฏเกณฑ์ได้

2. เศรษฐศาสตร์ตามที่ควารจะเป็น หรือเศรษฐศาสตร์นโยบาย (normative หรือ policy economics) การศึกษาที่กล่าวถึงพฤติกรรมของหน่วยเศรษฐกิจ หรือระบบเศรษฐกิจโดยมีการสอดแทรกข้อเสนอแนะที่เห็นว่าถูกหรือควรจะเป็นลงไปด้วย โดยคำนึงถึงเป้าหมายทางสังคม


สอดแทรกความต้องการของสังคม มีการนำเอาค่านิยม จริยธรรม แนวคิดทางสังคมเข้าร่วมพิจารณา เช่น รัฐบาลต้องการเพิ่มภาษีสินค้ารถยนต์ นอกจากศึกษาถึงผลกระทบต่างๆแล้วสิ่งที่อาจเกิดขึ้นยังศึกษาว่าการขึ้นภาษีดังกล่าวเป็นธรรมหรือไม่ ให้ข้อชี้แนะแก่รัฐบาลว่าควรหรือไม่ควรขึ้นภาษีสินค้าชนิดนั้นหรือไม่ เศรษฐศาสตร์ที่ควรจะเป็นจะให้ข้อสรุปที่แตกต่างกันแล้วแต่การวินิจฉัยของบุคคลว่าอะไรถูก อะไรควร ไม่อาจ