วันจันทร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ยังทรมานอย่างนี้ เจอะเธอทุกทีต้องคอยข่มใจ
ต้องทำเป็นคุยทักทาย ต้องทำเหมือนไม่เป็นไร
ทั้งที่ข้างในใจนั้นไม่ใช่เลย

อยากบอกว่าฉันยังรักเธอเสมอ
มันยังคิดถึงเธอไม่เคยเปลี่ยนไป
เจ็บปวดที่ฉันยังพูดได้แค่ในใจ
ก็รู้ถ้าพูดออกไป เธอคงจะไม่ย้อนกลับมา

มันคงจะดีกว่านี้ หากฉันเลิกจำว่าเคยผูกพัน ยังพยายามทุกวัน
แต่ทุกครั้งที่เจอกัน ในใจก็ยังสั่นฉันยังเหมือนเดิม

อยากบอกว่าฉันยังรักเธอเสมอ
มันยังคิดถึงเธอไม่เคยเปลี่ยนไป
เจ็บปวดที่ฉันยังพูดได้แค่ในใจ
ก็รู้ถ้าพูดออกไป เธอคงจะไม่ย้อนกลับมา

เมื่อฉันไม่ใช่คนที่เธอฝัน ชีวิตของฉันเป็นได้แค่นี้
ถ้ารักเท่าไหร่แต่ก็เข้าใจดี วันนี้ไม่มีเธอแล้ว

อยากบอกว่าฉันยังรักเธอเสมอ
มันยังคิดถึงเธอไม่เคยเปลี่ยนไป
เจ็บปวดที่ฉันยังพูดได้แค่ในใจ
ก็รู้ถ้าพูดออกไป เธอคงจะไม่ย้อนกลับมา

อยากบอกว่าฉันคงรักแต่เธอ มันยังคิดถึงเธอทุกลมหายใจ
เจ็บปวดที่ฉันยังพูดได้แค่ในใจ ก็รู้ถ้าพูดออกไป เธอคงจะไม่ย้อนคืนมา
ก็รู้ถ้าพูดออกไป ความรักคงไม่ย้อน กลับมา

มาตรา112 ความยุติธรรม

ยุติธรรมที่ล่าช้า คือความอยุติธรรม (Justice delayed is justice denied) คนละกรณี โหมปลุกแก้ 112

ไทยโพสท์ 13 พฤษภาคม 2555 >>>


ท่าทีของ "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" นายกรัฐมนตรี ตอกย้ำความชัดเจนอีกครั้งกับจุดยืนของรัฐบาลเพื่อไทยในเรื่องการแก้ไขหรือยกเลิกประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ที่ให้สัมภาษณ์ไว้เมื่อ 11 พ.ค. 2555 
   “ยืนยันว่ารัฐบาลไม่มีนโยบายในเรื่องนี้ รัฐบาลเคยพูดไปแล้ว หน้าที่ของรัฐบาลคือเรื่องการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจเป็นภาระเร่งด่วน”
กระแสการเสนอแก้ไขมาตรา 112 จากฝ่ายต่างๆ โดยเฉพาะกลุ่มคณะกรรมการรณรงค์แก้ไข มาตรา 112 (ครก.112) รวมถึงคนเสื้อแดง และนักการเมืองบางส่วน เกิดขึ้นอีกครั้งหลังการเสียชีวิตของนายอำพล หรือ "อากง" ผู้ถูกคุมขังในคดีความผิดตามมาตรา 112 เมื่อกลางสัปดาห์ที่ผ่านมา
ในยามนี้หลังมีบางฝ่ายหยิบยกคดีอากงขึ้นมาสนับสนุนเหตุผลในการแก้ไขมาตรา 112 ได้นำมาซึ่งความเห็นที่คัดค้านและสนับสนุนจากฝ่ายต่างๆ  อยู่ในเวลานี้
ฝ่ายเสื้อแดงชัดเจนที่สุดกับการเปิดแถลงข่าวอย่างเป็นทางการของแกนนำกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) เมื่อวันศุกร์ที่ 11 พ.ค. 2555 ที่ผ่านมา อันเป็นการแถลงข่าวที่นำโดยนางธิดา ถาวรเศรษฐ ประธาน นปช. ที่เรียกร้องขอให้รัฐบาลปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมเป็นกรณีเร่งด่วน โดยยกการเสียชีวิตของนายอำพลขึ้นมาเป็นบทเรียนที่บอกว่าสังคมควรต้องให้ความสำคัญอย่างจริงจังกับเรื่องนี้
   “เหตุการณ์นี้จะส่งผลต่อระบบยุติธรรมของไทย เนื่องจากต่างประเทศกำลังจับตามองอย่างใกล้ชิด ต้องทบทวนและแก้ปัญหาอย่างเร่งด่วน กรณีนี้ผลพวงจาก ป.อาญา มาตรา 112 เป็นการตั้งข้อกล่าวหาที่รุนแรงและไม่ได้ประกันตัว จึงต้องมีการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมก่อนที่จะเกิดความเสียหายไปมากกว่านี้"
ขณะที่ทาง ครก.112 ก็ได้ออกแถลงการณ์เมื่อ 10 พ.ค. 2555 เรื่อง ”ขอไว้อาลัยต่อการจากไปของนายอำพล หรืออากง เหยื่อมาตรา 112” โดยแถลงการณ์ดังกล่าวยังคงแสดงความชัดเจนว่าทาง ครก.112 จะเคลื่อนไหวในการแก้ไขมาตรา 112 ต่อไป
แม้จะไม่มีพรรคการเมืองไหนแม้แต่กับเพื่อไทย ที่มี ส.ส. เกินกึ่งหนึ่งในสภาผู้แทนราษฎรอันสามารถผลักดันการแก้ไขกฎหมายได้ทันที แต่เพื่อไทยและทุกพรรคการเมืองก็ประกาศตรงกันว่าไม่เอาด้วยกับเรื่องแก้ไขมาตรา 112 อันเท่ากับดูแล้วประตูที่จะนำไปสู่การแก้ไขมาตรา 112 ในกระบวนการทางนิติบัญญัติตามที่ ครก.112 เรียกร้องแทบเป็นไปไม่ได้เลย
กระนั้น ครก.112 ก็แจ้งว่าในแถลงการณ์ดังกล่าว ในส่วนของการรวบรวมรายชื่อประชาชนเพื่อเสนอร่างแก้ไขมาตรา 112 ตอนนี้ได้รายชื่อประชาชนมากกว่า 10,000 รายชื่อแล้ว อันเป็นจำนวนขั้นต่ำที่กฎหมายกำหนด แต่ ครก.112 จะทำอย่างไรต่อไปยังไม่ชัดในเรื่องนี้ แต่ได้ย้ำถึงเรื่องมาตรา 112 ไว้ในแถลงการณ์ตอนหนึ่งว่า 
   “เราหวังว่าประชาชนที่ได้ติดตามคดีของนายอำพลอย่างต่อเนื่อง และตระหนักถึงปัญหาของมาตรา 112 จะช่วยกันทำให้กฎหมายที่อยุติธรรมนี้ยุติการทำร้ายประชาชนเสียที แม้ว่าจะต้องใช้เวลานานก็ตาม”
จึงน่าติดตามไม่น้อยว่ากลุ่มคนเสื้อแดง-ครก.112-กลุ่มคณาจารย์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในชื่อ "นิติราษฎร์" รวมถึงประชาชนที่เห็นด้วยกับเรื่องนี้ แล้วต่อจากนี้จะมีการขับเคลื่อนออกมาในทิศทางใดเพื่อให้เป้าหมายนี้สำเร็จ ภายใต้การพยายามบอกกับสังคมว่า มาตรา 112 จำเป็นต้องแก้ไขหรือแม้แต่ยกเลิก
ขณะที่ฝ่ายไม่เห็นด้วย และสนับสนุนการคงไว้ซึ่งมาตรา 112 ก็แย้งว่า ในอดีตที่ผ่านมาหลายสิบปี มาตรา 112 ก็คงมีตลอด แต่ก็ไม่เห็นมีปัญหาอะไร ไม่ได้สร้างความเดือดร้อนให้กับใคร แล้วทำไมต้องแก้ไขหรือยกเลิก หากไม่ได้ไปกระทำความผิด หรือมีเจตนาคิดจะกระทำผิด เพราะจู่ๆ จะมีใครไปดำเนินการเอาผิดมาตรา 112 ได้อย่างไร หากว่าไม่มีการล่วงละเมิดตามข้อห้ามในบทบัญญัติของกฎหมาย บนการตั้งข้อสงสัยว่า กลุ่มที่หนุนแก้ไขมาตรา 112 มีเจตนาหรือมุ่งหมายประการใดเป็นสำคัญ
จะเห็นได้ว่า ทั้งฝ่ายสนับสนุนแก้ไข 112 กับฝ่ายหนุนให้คงไว้ซึ่งมาตรา  112 จนถึงวันนี้ทั้ง 2 ฝ่ายก็ยังยืนหยัดในหลักการอันเหนียวแน่นของตัวเองอย่างคงที่
ยังดีที่ว่าความเห็นอันแตกต่างของฝ่ายหนุนกับฝ่ายคัดค้านในการแก้ไข  112 ยังคงไว้ซึ่งการแสดงบนหลักการของเหตุและผล ยังไม่มีการใช้ความรุนแรงมาเผชิญหน้ากัน แม้ก่อนหน้านี้จะเกิดเหตุการณ์ที่ไม่เหมาะสมขึ้นบ้างหลายกรณี
อาทิ การที่พี่น้องฝาแฝดไปบุกต่อยทำร้ายร่างกาย ”วรเจตน์ ภาคีรัตน์” แกนนำกลุ่มนิติราษฎร์ ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ อันเป็นพฤติกรรมที่สมควรต้องประณาม และไม่ควรเอาเยี่ยงอย่างกับการใช้ความรุนแรง เพื่อตอบสนองความคิดที่แตกต่างกันทางการเมือง
แต่ในส่วนของความรุนแรงอย่างอื่นที่เป็นการเผชิญหน้ากันของฝ่ายหนุนแก้ไข 112 กับฝ่ายคัดค้าน ก็ยังไม่มีอะไรนอกจากนั้น อันเป็นเรื่องที่ดีอย่างยิ่ง เพราะความคิดเห็นที่แตกต่างกันในเรื่องการเมือง หรือทัศนคติทางการเมือง เป็นธรรมดาที่ย่อมเห็นต่างกัน แต่ก็ควรคงไว้ซึ่งหลักการของการแสดงความคิดเห็นอย่างมีหลักการ ถกเถียงแย้งกันด้วยเหตุผล ไม่ใช้ความรุนแรง ต้องเคารพความคิดเห็นและให้เกียรติอีกฝ่ายด้วย 
อย่างไรก็ตาม การจะโหมปลุกกระแสแก้ไข 112 ขึ้นมาอีกครั้ง ประเมินดูแล้ว หากฝ่ายการเมืองไม่เล่นด้วย โดยเฉพาะเพื่อไทยและรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ก็ยากที่เรื่องนี้จะได้เห็นผลในทางรูปธรรม
เพราะฝ่ายสมาชิกรัฐสภา ทั้งฝ่ายรัฐบาล-ฝ่ายค้านและสมาชิกวุฒิสภา ไม่มีใครอยากยุ่งกับเรื่องนี้ และมองว่าไม่เห็นมีความจำเป็นหรือความสำคัญอะไรที่ต้องแก้ไขมาตรา 112 ในเมื่อเรื่องสำคัญอื่นๆ เช่น ปัญหาความแตกแยกทางการเมือง การเดินหน้าสร้างความปรองดอง การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ เป็นเรื่องที่ควรต้องรีบกระทำก่อน
ทำให้ประตูที่จะนำไปสู่การแก้ไขมาตรา 112 ที่ต้องทำผ่านขั้นตอนทางนิติบัญญัติ ถูกปิดประตูล็อกกลอนอย่างแน่นหนา แม้ฝ่ายหนุนแก้ไข 112 จะมองว่า หากเสียงเรียกร้องในเรื่องนี้มีจำนวนมาก ก็ย่อมทำให้ประตูที่ล็อกเอาไว้ วันหนึ่งก็ต้องถูกเปิดออก
แน่นอนว่าฝ่ายเสื้อแดงหรือ นปช. เอง ก็ย่อมมีหลายสาย อาจมีทั้งแดงที่ไม่ชอบประชาธิปัตย์ ไม่ชอบทหาร ต่อต้านการทำรัฐประหาร แต่ชื่นชมในตัวทักษิณ ชินวัตร จึงอยากให้ทักษิณกลับประเทศไทยอย่างเดียว ไม่ได้คิดเรื่องอื่นโดยเฉพาะเรื่อง 112
และเช่นกัน ก็มีเสื้อแดงซึ่งไม่ชอบเรื่องอำมาตย์ ต้องการเห็นความเท่าเทียมกันในสังคม แต่ก็เฉยๆ กับทักษิณและยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และไม่ได้ชอบพรรคเพื่อไทยอะไร แต่ที่มายืนฝั่งเดียวกับคนเสื้อแดงก็เพราะเห็นด้วยกับการแก้ไข 112 หนุนแนวคิดหลายอย่างตามที่นิติราษฎร์เสนอต่อสังคม
เมื่อฝ่ายรัฐบาลเพื่อไทยดูจะเพิกเฉยและไม่ตอบรับกับเรื่อง “แก้ไข 112” เพราะมองว่าเป็นเรื่องสุ่มเสี่ยงทางการเมือง จะเป็นเผือกร้อนทำให้รัฐบาลอายุขัยสั้นและเปิดแนวรบกับบางฝ่ายในสังคมโดยไม่จำเป็น
ก็ย่อมทำให้ฝ่ายที่หนุนเรื่อง 112 ย่อมผิดหวัง ไม่พอใจ ในรัฐบาลเพื่อไทยและแกนนำ นปช. หลายคนที่เพิกเฉยต่อเรื่อง 112 จนวันข้างหน้าก็พร้อมแยกทางกันเดินกับฝ่ายเพื่อไทยและแกนนำ นปช. ในค่ายเพื่อไทยได้ แต่จะถึงขั้นเป็นคนละฝ่ายกันกับรัฐบาลเพื่อไทยเลยหรือไม่ ตรงนี้ต้องดูกันยาวๆ ต่อไป
การกลับมาโหมกระแสแก้ไข 112 อีกรอบในยามนี้ แม้ดูแล้วว่ากันตามจริงก็คงเหมือนเดิม คือยากจะสำเร็จในเชิงรูปธรรม แต่ในแง่การทำให้สังคมพยายามคล้อยตามเห็นด้วยในบางมิติโดยเฉพาะการเน้นเรื่อง
ความยุติธรรมที่ล่าช้า คือความอยุติธรรม
ตรงนี้อาจมีผลระดับหนึ่งกับฝ่ายที่ดูจะเอาด้วยกับเรื่อง 112 อยู่แล้ว แต่อีกฝ่ายหนึ่งก็จะแย้งเรื่องรูปคดีอากงตั้งแต่ต้น จนถึงขั้นตอนการรักษาอาการเจ็บป่วยของอากง ว่าไม่ได้เกี่ยวกับศาลยุติธรรมหรือการตัดสินคดีใดๆ เพื่อต้องการให้แยกเรื่อง 112 กับเรื่องการเสียชีวิตของอากงออกจากกัน
อย่างไรก็ตาม การเคลื่อนไหวเรื่อง 112 ที่กลับมาอีกครั้ง ก็เป็นอีกมิติการเมืองที่ต้องจับตามองต่อไป

วันศุกร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2554

ตอนที่ 1/1

ตอนที่ 1
แนวทางการจัดกระบวนการเรียนรู้
เศรษฐศาสตร์
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
1.            แนวทางการใช้สื่อการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
2.            ตารางวิเคราะห์ความสอดคล้องของเนื้อหาฯ เศรษฐศาสตร์ ชั้น ม.5
3.            โครงสร้างสาระการเรียนรู้เศรษฐศาสตร์ ชั้น ม.5
4.            ผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้เศรษฐศาสตร์ ชั้น ม.5
5.            แนวทางการจัดกระบวนการเรียนรู้เศรษฐศาสตร์ ชั้น ม.5
6.            กำหนดการจัดการเรียนรู้เศรษฐศาสตร์ ชั้น ม.5

แนวทางการใช้สื่อการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
ดึงมาจากคู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ เศรษฐศาสตร์ ม.6 หน้า 2-3
โครงสร้างสาระการเรียนรู้ เศรษฐศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

บทที่  1  การบริหารจัดการทรัพยากรเพื่อการผลิต
1.  ทรัพยากร
       ความหมายของทรัพยากร
2.  การวางแผนการใช้ทรัพยากรเพื่อการผลิต
3.  ปัญหาเศรษฐกิจกับการบริหารจัดการทรัพยากร
4.  คุณธรรมในการผลิต
5.  ประโยชน์ของการบริหารจัดการทรัพยากร
6.  หลักการบริหารจัดการทรัพยากร
       - การจัดสรรทรัพยากร
       - ความล้มเหลวของกลไกตลาด
       - กลยุทธ์ในการจัดการทรัพยากร
บทที่ 2  ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ
1. การค้าระหว่างประเทศ
      - ความหมายของการค้าระหว่างประเทศ
      - สาเหตุของการค้าระหว่างประเทศ
      - ประโยชน์ของการค้าระหว่างประเทศ
      - นโยบายการค้าระหว่างประเทศ
      - ความสัมพันธ์ระหว่างเศรษฐกิจไทยกับเศรษฐกิจโลก
2.  การเงินและการแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศ
      - การเงินระหว่างประเทศ
      - ตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
      - ระบบอัตราแลกเปลี่ยน
      - การค้าต่างประเทศและดุลการชำระเงิน
3.  การลงทุนระหว่างประเทศ
      - การลงทุนระหว่างประเทศทางตรง
      - การลงทุนระหว่างประเทศทางอ้อม
บทที่ 3 การเงิน การธนาคาร และการคลัง
1. การเงินและการธนาคาร
      1) การเงิน
           - ความหมายของเงิน
           - บทบาทหน้าที่ของเงิน
           - ปริมาณเงินและการหมุนเวียนของเงิน
       2) สถาบันการเงิน
           - ความหมายของสถาบันการเงิน
        3) สถาบันการเงินที่ไม่ได้ประกอบกิจการธนาคาร
-                   บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
-                   บรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน
-                   บรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย
-                   บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย
-                   บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม
-                   บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์
-                   บริษัทเครดิตฟองซิเอร์
-                   สหกรณ์ออมทรัพย์
-                   บริษัทประกันภัย
-     โรงรับจำนำ
          4) การคลัง
                 -  ความหมายของการคลัง
           - ความสำคัญของการคลัง
         5) งบประมาณแผ่นดิน
                -  ความหมายของงบประมาณแผ่นดิน
                - ความสำคัญของงบประมาณแผ่นดิน
               - ประเภทของงบประมาณแผ่นดิน
               - การจัดทำงบประมาณแผ่นดิน
         6) หนี้สาธารณะ
               - ความหมายของหนี้สาธารณะ
               - ความสำคัญของหนี้สาธารณะ
               - วัตถุประสงค์ในการก่อหนี้ของรัฐบาล
               - วิธีการก่อหนี้ของรัฐบาล
               - แหล่งเงินกู้ของรัฐบาล
               - ประเภทของหนี้สาธารณะ
               - ภาระหนี้ของรัฐบาล
               - ผลกระทบทางเศรษฐกิจของหนี้สาธารณะ
               - การก่อหนี้ของประเทศไทย
         7) นโยบายการคลัง
                 - ความหมายของนโยบายการคลัง
                 - ความสำคัญของนโยบายการคลัง
                 - ประเภทของนโยบายการคลัง
                 - นโยบายการคลังของประเทศไทย
                 - เครื่องมือของนโยบายการคลัง
บทที่ 4 องค์กรความร่วมมือทางเศรษฐกิจ
            1. การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ
                - ความหมายและความสำคัญ
                - เป้าหมายของการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ
                - ปัจจัยส่งเสริมการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ
                - ลักษณะของกลุ่มประเทศทางเศรษฐกิจ
         2. ผลของความร่วมมือทางเศรษฐกิจ
                - ความขัดแย้ง
                - การประสานประโยชน์
                - การพึ่งพากัน
                - การแข่งขันกัน
                - คุณธรรมและการรู้เท่าทัน
         3. องค์กรความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
               - การร่วมมือทางเศรษฐกิจทั่วไป
               - การร่วมมือทางเศรษฐกิจภูมิภาค
               - สหภาพยุโรป
               - กลุ่มประเทศผู้ส่งน้ำมันเป็นสินค้าออก
               - สมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
               - องค์การการค้าโลก
          - ข้อตกลงการค้าเสรีอเมริกาเหนือ
บทที่ 5 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
            1. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
                   - ความหมายของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
                   - ความสำคัญของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
                   - ประโยชน์ของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
            2. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติของไทยในอดีต
                  - แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1-8
            3. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติของไทยปัจจุบัน
                  - การปรับเปลี่ยนแนวคิดการพัฒนา
                  - หลักการจัดทำแผนพัฒนาประเทศตามแนวคิดใหม่
                 - การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาประเทศ
                 - สาระสำคัญของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9
                 - วิสัยทัศน์ร่วมของคนไทย
                 - วัตถุประสงค์และเป้าหมายหลักของการพัฒนาประเทศ
                 - ความเร่งด่วนของการพัฒนาประเทศ
                 - ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศของไทย
          4. นโยบายการพัฒนาประเทศของรัฐบาลปัจจุบัน
                 - นโยบายเศรษฐกิจรากหญ้าและหลักประกันสังคม
                 - นโยบายอื่น ๆ ของรัฐบาลปัจจุบัน
          5. แผนพัฒนาประเทศในอนาคต
                 - การเปลี่ยนแปลงแผนพัฒนาประเทศ
                 - แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ

 ผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้เศรษฐศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
บทที่ 1 : การบริหารจัดการทรัพยากรเพื่อการผลิต
การบริหารจัดการทรัพยากรเพื่อการผลิต ทรัพยากร การวางแผนการใช้ทรัพยากรเพื่อการผลิต ปัญหาเศรษฐกิจกับการบริหารจัดการทรัพยากร คุณธรรมในการผลิต ประโยชน์ของการบริหารจัดการทรัพยากร หลักการบริหารจัดการทรัพยากร

บทที่ 2 : ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ
            การค้าระหว่างประเทศ การเงินและการแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศ การลงทุนระหว่างประเทศ
 บทที่ 3 : การเงิน การธนาคาร และการคลัง
             การเงินและการธนาคาร การคลัง งบประมาณแผ่นดิน หนี้สาธารณะ นโยบายการคลัง
บทที่ 4 : องค์กรร่วมมือทางเศรษฐกิจ
            การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ ผลของความร่วมมือทางเศรษฐกิจ องค์กรความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
บทที่ 5 : แผนพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
            แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติของไทยในอดีต แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติของไทยในปัจจุบัน นโยบายการพัฒนาประเทศของรัฐบาลปัจจุบัน แผนพัฒนาประเทศในอนาคต

  แนวทางการจัดกระบวนการเรียนรู้เศรษฐศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
   คำอธิบายสาระการเรียนรู้เศรษฐศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
            ศึกษา วิเคราะห์ ฝึกปฏิบัติ สร้างความคิดรวบยอด เพื่อให้มีความเข้าใจ ตระหนัก และเห็นคุณค่าในเรื่องต่อไปนี้
        การบริหารจัดการทรัพยากรเพื่อการผลิต เกี่ยวกับ ทรัพยากร เรื่อง ความหมายของทรัพยากร การวางแผนการใช้ทรัพยากรเพื่อการผลิต ปัญหาเศรษฐกิจกับการบริหารจัดการทรัพยากร คุณธรรมในการผลิต ประโยชน์ของการบริหารจัดการทรัพยากร หลักการบริหารจัดการทรัพยากร การจัดสรรทรัพยากร ความล้มเหลวของกลไกตลาด กลยุทธ์ในการจัดการทรัพยากร
       ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ เกี่ยวกับ การค้าระหว่างประเทศ เรื่อง ความหมายของการค้าระหว่างประเทศ สาเหตุของการค้าระหว่างประเทศ ประโยชน์ของการค้าระหว่างประเทศ นโยบายการค้าระหว่างประเทศ ความสัมพันธ์ระหว่างเศรษฐกิจไทยกับเศรษฐกิจโลก การเงินและการแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศ การเงินระหว่างประเทศ ตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ระบบอัตราแลกเปลี่ยน การค้าระหว่างประเทศและดุลการชำระเงิน การลงทุนระหว่างประเทศ การลงทุนระหว่างประเทศทางตรง การลงทุนระหว่างประเทศทางอ้อม
       การเงิน การธนาคาร และการคลัง เกี่ยวกับ การเงินและการธนาคาร เรื่อง การเงิน ความหมายของเงิน บทบาทหน้าที่ของเงิน ปริมาณเงินและการหมุนเวียนของเงิน สถาบันการเงิน ความหมายของสถาบันการเงิน สถาบันการเงินที่ไม่ได้ประกอบกิจการธนาคาร บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย บรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน บรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย บรรษัทสินทรัพย์ไทย บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม บรรษัทเงินทุนหลักทรัพย์ บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ สหกรณ์ออมทรัพย์ บริษัทประกันภัย โรงรับจำนำ การคลัง ความหมายของการคลัง ความสำคัญของการคลัง งบประมาณแผ่นดิน ความหมายของงบประมาณแผ่นดิน ความสำคัญของงบประมาณแผ่นดิน ประเภทของงบประมาณแผ่นดิน การจัดทำงบประมาณแผ่นดิน หนี้สาธารณะ ความหมายของหนี้สาธารณะ ความสำคัญของหนี้สาธารณะ วัตถุประสงค์ในการก่อหนี้ของรัฐบาล วิธีการก่อหนี้ของรัฐบาล แหล่งเงินกู้ของรัฐบาล  ประเภทของหนี้สาธารณะ ภาระหนี้ของรัฐบาล ผลกระทบทางเศรษฐกิจของหนี้สาธารณะ การก่อหนี้ของประเทศไทย นโยบายการคลัง ความหมายของนโยบายการคลัง ความสำคัญของนโยบายการคลัง ประเภทของนโยบายการคลัง นโยบายการคลังของประเทศไทย เครื่องมือของนโยบายการคลัง
      องค์กรความร่วมมือทางเศรษฐกิจ เกี่ยวกับ การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ เรื่อง ความหมายและความสำคัญ เป้าหมายของการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ ปัจจัยส่งเสริมการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ ลักษณะของกลุ่มประเทศทางเศรษฐกิจ  ผลของความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ความขัดแย้ง การประสานประโยชน์ การพึ่งพากัน การแข่งขันกัน คุณธรรมและการรู้เท่าทัน องค์กรความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ การร่วมมือทางเศรษฐกิจทั่วไป การร่วมมือทางเศรษฐกิจภูมิภาค สหภาพยุโรป กลุ่มประเทศผู้ส่งน้ำมันเป็นสินค้าออก สมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ องค์การการค้าโลก ข้อตกลงการค้าเสรีอเมริกาเหนือ
       แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เรื่อง ความหมายของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ความสำคัญของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ประโยชน์ของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติของไทยในอดีต แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1-8 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติของไทยในปัจจุบัน การปรับเปลี่ยนแนวคิดการพัฒนา หลักการจัดทำแผนพัฒนาประเทศตามแนวคิดใหม่ การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาประเทศ สาระสำคัญของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 วิสัยทัศน์ของคนไทย วัตถุประสงค์และเป้าหมายหลักของการพัฒนาประเทศ ความเร่งด่วนของการพัฒนาประเทศ ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศของไทย นโยบายการพัฒนาประเทศของรัฐบาลปัจจุบัน นโยบายเศรษฐกิจรากหญ้าและหลักประกันสังคม นโยบายอื่น ๆ ของรัฐบาลปัจจุบัน แผนพัฒนาประเทศในอนาคต การเปลี่ยนแปลงแผนพัฒนาประเทศ แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ

ผลการเรียนรู้สาระการเรียนรู้เศรษฐศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
       มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรเพื่อการผลิตและปัญหาที่เกิดจากการจัดการทรัพยากรที่ไม่มีประสิทธิภาพ มีความรู้ความเข้าใจวัตถุประสงค์ ผลประโยชน์เกี่ยวกับการค้า การเงินและการลงทุนระหว่างประเทศ มีความรู้ความเข้าใจและตระหนักในความสำคัญเกี่ยวกับการเงินการธนาคาร และการคลัง มีความรู้ความเข้าใจประวัติความเป็นมา จุดมุ่งหมาย การดำเนินงานขององค์การระหว่างประเทศในภูมิภาคต่าง ๆ ของโลก และเข้าใจถึงบทบาทของประเทศไทยที่มีต่อองค์การต่าง ๆ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติของไทย ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และในอนาคต
                   
แผนการจัดการเรียนรู้  เศรษฐศาสตร์ ม.5                                                         เวลา 40 ชั่วโมง
แผนการจัดการเรียนรู้
เรื่อง
เวลา / ชั่วโมง
-
1
2
3
4
5
  แผนการจัดการเรียนรู้ปฐมนิเทศ
  การบริหารจัดการทรัพยากรเพื่อการผลิต
  ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ
  การเงิน การธนาคาร และการคลัง
  องค์กรความร่วมมือทางเศรษฐกิจ
  แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

2
4
8
14
8
4

ตอนที่ 1/1

ตอนที่ 1
แนวทางการจัดกระบวนการเรียนรู้
เศรษฐศาสตร์
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
1.            แนวทางการใช้สื่อการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
2.            ตารางวิเคราะห์ความสอดคล้องของเนื้อหาฯ เศรษฐศาสตร์ ชั้น ม.5
3.            โครงสร้างสาระการเรียนรู้เศรษฐศาสตร์ ชั้น ม.5
4.            ผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้เศรษฐศาสตร์ ชั้น ม.5
5.            แนวทางการจัดกระบวนการเรียนรู้เศรษฐศาสตร์ ชั้น ม.5
6.            กำหนดการจัดการเรียนรู้เศรษฐศาสตร์ ชั้น ม.5

แนวทางการใช้สื่อการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
ดึงมาจากคู่มือครู แผนการจัดการเรียนรู้ เศรษฐศาสตร์ ม.6 หน้า 2-3
โครงสร้างสาระการเรียนรู้ เศรษฐศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

บทที่  1  การบริหารจัดการทรัพยากรเพื่อการผลิต
1.  ทรัพยากร
       ความหมายของทรัพยากร
2.  การวางแผนการใช้ทรัพยากรเพื่อการผลิต
3.  ปัญหาเศรษฐกิจกับการบริหารจัดการทรัพยากร
4.  คุณธรรมในการผลิต
5.  ประโยชน์ของการบริหารจัดการทรัพยากร
6.  หลักการบริหารจัดการทรัพยากร
       - การจัดสรรทรัพยากร
       - ความล้มเหลวของกลไกตลาด
       - กลยุทธ์ในการจัดการทรัพยากร
บทที่ 2  ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ
1. การค้าระหว่างประเทศ
      - ความหมายของการค้าระหว่างประเทศ
      - สาเหตุของการค้าระหว่างประเทศ
      - ประโยชน์ของการค้าระหว่างประเทศ
      - นโยบายการค้าระหว่างประเทศ
      - ความสัมพันธ์ระหว่างเศรษฐกิจไทยกับเศรษฐกิจโลก
2.  การเงินและการแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศ
      - การเงินระหว่างประเทศ
      - ตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
      - ระบบอัตราแลกเปลี่ยน
      - การค้าต่างประเทศและดุลการชำระเงิน
3.  การลงทุนระหว่างประเทศ
      - การลงทุนระหว่างประเทศทางตรง
      - การลงทุนระหว่างประเทศทางอ้อม
บทที่ 3 การเงิน การธนาคาร และการคลัง
1. การเงินและการธนาคาร
      1) การเงิน
           - ความหมายของเงิน
           - บทบาทหน้าที่ของเงิน
           - ปริมาณเงินและการหมุนเวียนของเงิน
       2) สถาบันการเงิน
           - ความหมายของสถาบันการเงิน
        3) สถาบันการเงินที่ไม่ได้ประกอบกิจการธนาคาร
-                   บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
-                   บรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน
-                   บรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย
-                   บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย
-                   บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม
-                   บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์
-                   บริษัทเครดิตฟองซิเอร์
-                   สหกรณ์ออมทรัพย์
-                   บริษัทประกันภัย
-     โรงรับจำนำ
          4) การคลัง
                 -  ความหมายของการคลัง
           - ความสำคัญของการคลัง
         5) งบประมาณแผ่นดิน
                -  ความหมายของงบประมาณแผ่นดิน
                - ความสำคัญของงบประมาณแผ่นดิน
               - ประเภทของงบประมาณแผ่นดิน
               - การจัดทำงบประมาณแผ่นดิน
         6) หนี้สาธารณะ
               - ความหมายของหนี้สาธารณะ
               - ความสำคัญของหนี้สาธารณะ
               - วัตถุประสงค์ในการก่อหนี้ของรัฐบาล
               - วิธีการก่อหนี้ของรัฐบาล
               - แหล่งเงินกู้ของรัฐบาล
               - ประเภทของหนี้สาธารณะ
               - ภาระหนี้ของรัฐบาล
               - ผลกระทบทางเศรษฐกิจของหนี้สาธารณะ
               - การก่อหนี้ของประเทศไทย
         7) นโยบายการคลัง
                 - ความหมายของนโยบายการคลัง
                 - ความสำคัญของนโยบายการคลัง
                 - ประเภทของนโยบายการคลัง
                 - นโยบายการคลังของประเทศไทย
                 - เครื่องมือของนโยบายการคลัง
บทที่ 4 องค์กรความร่วมมือทางเศรษฐกิจ
            1. การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ
                - ความหมายและความสำคัญ
                - เป้าหมายของการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ
                - ปัจจัยส่งเสริมการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ
                - ลักษณะของกลุ่มประเทศทางเศรษฐกิจ
         2. ผลของความร่วมมือทางเศรษฐกิจ
                - ความขัดแย้ง
                - การประสานประโยชน์
                - การพึ่งพากัน
                - การแข่งขันกัน
                - คุณธรรมและการรู้เท่าทัน
         3. องค์กรความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
               - การร่วมมือทางเศรษฐกิจทั่วไป
               - การร่วมมือทางเศรษฐกิจภูมิภาค
               - สหภาพยุโรป
               - กลุ่มประเทศผู้ส่งน้ำมันเป็นสินค้าออก
               - สมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
               - องค์การการค้าโลก
          - ข้อตกลงการค้าเสรีอเมริกาเหนือ
บทที่ 5 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
            1. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
                   - ความหมายของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
                   - ความสำคัญของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
                   - ประโยชน์ของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
            2. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติของไทยในอดีต
                  - แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1-8
            3. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติของไทยปัจจุบัน
                  - การปรับเปลี่ยนแนวคิดการพัฒนา
                  - หลักการจัดทำแผนพัฒนาประเทศตามแนวคิดใหม่
                 - การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาประเทศ
                 - สาระสำคัญของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9
                 - วิสัยทัศน์ร่วมของคนไทย
                 - วัตถุประสงค์และเป้าหมายหลักของการพัฒนาประเทศ
                 - ความเร่งด่วนของการพัฒนาประเทศ
                 - ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศของไทย
          4. นโยบายการพัฒนาประเทศของรัฐบาลปัจจุบัน
                 - นโยบายเศรษฐกิจรากหญ้าและหลักประกันสังคม
                 - นโยบายอื่น ๆ ของรัฐบาลปัจจุบัน
          5. แผนพัฒนาประเทศในอนาคต
                 - การเปลี่ยนแปลงแผนพัฒนาประเทศ
                 - แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ

 ผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้เศรษฐศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
บทที่ 1 : การบริหารจัดการทรัพยากรเพื่อการผลิต
การบริหารจัดการทรัพยากรเพื่อการผลิต ทรัพยากร การวางแผนการใช้ทรัพยากรเพื่อการผลิต ปัญหาเศรษฐกิจกับการบริหารจัดการทรัพยากร คุณธรรมในการผลิต ประโยชน์ของการบริหารจัดการทรัพยากร หลักการบริหารจัดการทรัพยากร

บทที่ 2 : ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ
            การค้าระหว่างประเทศ การเงินและการแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศ การลงทุนระหว่างประเทศ
 บทที่ 3 : การเงิน การธนาคาร และการคลัง
             การเงินและการธนาคาร การคลัง งบประมาณแผ่นดิน หนี้สาธารณะ นโยบายการคลัง
บทที่ 4 : องค์กรร่วมมือทางเศรษฐกิจ
            การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ ผลของความร่วมมือทางเศรษฐกิจ องค์กรความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
บทที่ 5 : แผนพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
            แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติของไทยในอดีต แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติของไทยในปัจจุบัน นโยบายการพัฒนาประเทศของรัฐบาลปัจจุบัน แผนพัฒนาประเทศในอนาคต

  แนวทางการจัดกระบวนการเรียนรู้เศรษฐศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
   คำอธิบายสาระการเรียนรู้เศรษฐศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
            ศึกษา วิเคราะห์ ฝึกปฏิบัติ สร้างความคิดรวบยอด เพื่อให้มีความเข้าใจ ตระหนัก และเห็นคุณค่าในเรื่องต่อไปนี้
        การบริหารจัดการทรัพยากรเพื่อการผลิต เกี่ยวกับ ทรัพยากร เรื่อง ความหมายของทรัพยากร การวางแผนการใช้ทรัพยากรเพื่อการผลิต ปัญหาเศรษฐกิจกับการบริหารจัดการทรัพยากร คุณธรรมในการผลิต ประโยชน์ของการบริหารจัดการทรัพยากร หลักการบริหารจัดการทรัพยากร การจัดสรรทรัพยากร ความล้มเหลวของกลไกตลาด กลยุทธ์ในการจัดการทรัพยากร
       ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ เกี่ยวกับ การค้าระหว่างประเทศ เรื่อง ความหมายของการค้าระหว่างประเทศ สาเหตุของการค้าระหว่างประเทศ ประโยชน์ของการค้าระหว่างประเทศ นโยบายการค้าระหว่างประเทศ ความสัมพันธ์ระหว่างเศรษฐกิจไทยกับเศรษฐกิจโลก การเงินและการแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศ การเงินระหว่างประเทศ ตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ระบบอัตราแลกเปลี่ยน การค้าระหว่างประเทศและดุลการชำระเงิน การลงทุนระหว่างประเทศ การลงทุนระหว่างประเทศทางตรง การลงทุนระหว่างประเทศทางอ้อม
       การเงิน การธนาคาร และการคลัง เกี่ยวกับ การเงินและการธนาคาร เรื่อง การเงิน ความหมายของเงิน บทบาทหน้าที่ของเงิน ปริมาณเงินและการหมุนเวียนของเงิน สถาบันการเงิน ความหมายของสถาบันการเงิน สถาบันการเงินที่ไม่ได้ประกอบกิจการธนาคาร บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย บรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน บรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย บรรษัทสินทรัพย์ไทย บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม บรรษัทเงินทุนหลักทรัพย์ บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ สหกรณ์ออมทรัพย์ บริษัทประกันภัย โรงรับจำนำ การคลัง ความหมายของการคลัง ความสำคัญของการคลัง งบประมาณแผ่นดิน ความหมายของงบประมาณแผ่นดิน ความสำคัญของงบประมาณแผ่นดิน ประเภทของงบประมาณแผ่นดิน การจัดทำงบประมาณแผ่นดิน หนี้สาธารณะ ความหมายของหนี้สาธารณะ ความสำคัญของหนี้สาธารณะ วัตถุประสงค์ในการก่อหนี้ของรัฐบาล วิธีการก่อหนี้ของรัฐบาล แหล่งเงินกู้ของรัฐบาล  ประเภทของหนี้สาธารณะ ภาระหนี้ของรัฐบาล ผลกระทบทางเศรษฐกิจของหนี้สาธารณะ การก่อหนี้ของประเทศไทย นโยบายการคลัง ความหมายของนโยบายการคลัง ความสำคัญของนโยบายการคลัง ประเภทของนโยบายการคลัง นโยบายการคลังของประเทศไทย เครื่องมือของนโยบายการคลัง
      องค์กรความร่วมมือทางเศรษฐกิจ เกี่ยวกับ การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ เรื่อง ความหมายและความสำคัญ เป้าหมายของการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ ปัจจัยส่งเสริมการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ ลักษณะของกลุ่มประเทศทางเศรษฐกิจ  ผลของความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ความขัดแย้ง การประสานประโยชน์ การพึ่งพากัน การแข่งขันกัน คุณธรรมและการรู้เท่าทัน องค์กรความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ การร่วมมือทางเศรษฐกิจทั่วไป การร่วมมือทางเศรษฐกิจภูมิภาค สหภาพยุโรป กลุ่มประเทศผู้ส่งน้ำมันเป็นสินค้าออก สมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ องค์การการค้าโลก ข้อตกลงการค้าเสรีอเมริกาเหนือ
       แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เรื่อง ความหมายของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ความสำคัญของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ประโยชน์ของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติของไทยในอดีต แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1-8 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติของไทยในปัจจุบัน การปรับเปลี่ยนแนวคิดการพัฒนา หลักการจัดทำแผนพัฒนาประเทศตามแนวคิดใหม่ การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาประเทศ สาระสำคัญของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 วิสัยทัศน์ของคนไทย วัตถุประสงค์และเป้าหมายหลักของการพัฒนาประเทศ ความเร่งด่วนของการพัฒนาประเทศ ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศของไทย นโยบายการพัฒนาประเทศของรัฐบาลปัจจุบัน นโยบายเศรษฐกิจรากหญ้าและหลักประกันสังคม นโยบายอื่น ๆ ของรัฐบาลปัจจุบัน แผนพัฒนาประเทศในอนาคต การเปลี่ยนแปลงแผนพัฒนาประเทศ แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ

ผลการเรียนรู้สาระการเรียนรู้เศรษฐศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
       มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรเพื่อการผลิตและปัญหาที่เกิดจากการจัดการทรัพยากรที่ไม่มีประสิทธิภาพ มีความรู้ความเข้าใจวัตถุประสงค์ ผลประโยชน์เกี่ยวกับการค้า การเงินและการลงทุนระหว่างประเทศ มีความรู้ความเข้าใจและตระหนักในความสำคัญเกี่ยวกับการเงินการธนาคาร และการคลัง มีความรู้ความเข้าใจประวัติความเป็นมา จุดมุ่งหมาย การดำเนินงานขององค์การระหว่างประเทศในภูมิภาคต่าง ๆ ของโลก และเข้าใจถึงบทบาทของประเทศไทยที่มีต่อองค์การต่าง ๆ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติของไทย ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และในอนาคต
                   
แผนการจัดการเรียนรู้  เศรษฐศาสตร์ ม.5                                                         เวลา 40 ชั่วโมง
แผนการจัดการเรียนรู้
เรื่อง
เวลา / ชั่วโมง
-
1
2
3
4
5
  แผนการจัดการเรียนรู้ปฐมนิเทศ
  การบริหารจัดการทรัพยากรเพื่อการผลิต
  ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ
  การเงิน การธนาคาร และการคลัง
  องค์กรความร่วมมือทางเศรษฐกิจ
  แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

2
4
8
14
8
4